reading


Passage 2 (Question 1-6)
                 We chose to investigate 13 common risks (sunbathing, food coloring, genetic engineering, nuclear power, mugging, home accidents, ozone depletion, car driving, microwave ovens, AIDS, war, terrorism and alcoholic drinks) because they can all be fitted into particular psychological space.
                Previous studies suggest that the most acceptable risks are those deemed to be self-imposed or with immediate impact. This is exactly what we found. Microwave ovens, food coloring and alcohol were all seen as not particularly risky. “Catastrophic” themes such as war, genetic engineering, ozone loss and nuclear power, however, were rated as highly risky.
                We discovered that people most fear risks that they perceive as unacceptable to society and harmful to the environment as a whole. The people in our study were particularly concerned about risks, such as ozone depletion, that they considered to be harmful to future generations. They also often use the term “dread” to describe risks that they considered involuntary, unfair or highly likely to kill or permanently injure people.
                In detailed follow-up interviews, we also found that whatever the risk, people were more likely to trust the opinion of their nearest and dearest than the view of officials.      
บทความที่ 2
                เราได้เลือกที่จะศึกษาวิจัยความเสี่ยงปกติ 13 อย่าง (การอาบแดด, การใส่ผสมอาหาร, วิศวพันธุกรรม, พลังงานนิวเคลียร์, การชิงทรัพย์, อุบัติเหตุในครัวเรือน, การลดลงของโอโซน, การขับรถ, เตาไมโครเวฟ, โรคเอดส์, สงคราม, การก่อการร้าย และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์) เพราะความเสี่ยงทั้งหมดดังกล่าว ถูกจัดเข้าไปในพื้นที่ขอบเขตของวิชาจิตวิทยาไว้อย่างลงตัว
                งานวิจัยเมื่อก่อนนี้เสนอว่า ความเสี่ยงที่ยอมรับกันได้มักจะเป็นความเสี่ยงที่รบกวนเฉพาะบุคคล หรือมีผลกระทบทันทีทันใด สิ่งนี้ตรงกับที่เราพบในการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ คือ เตาไมโครเวฟ การใช้สีผสมอาหาร และสุราถูกมองว่าเป็นความเสี่ยงที่ไม่สำคัญนัก ในขณะที่ ภัยพิบัติบนโลก  เช่น สงคราม วิศวพันธุกรรม การสูญไปของโอโซน และพลังงานนิวเคลียร์ ถูกมองว่าเป็นความเสี่ยงที่อันตรายมากกว่า
                เราพบว่าประชาชนมักจะกลัวความเสี่ยงที่พวกเขาแลเห็นว่ายอมรับไม่ได้ในสังคม และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม ผู้คนที่เราศึกษามักจะวิตกเรื่องความเสี่ยงที่ส่งผลร้ายต่อคนรุ่นต่อไป เช่นการลดลงของโอโซน
                พวกเขายังใช้คำว่า dread” (น่าสะพรึงกลัว) อยู่เสมอเพื่ออธิบายความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ยุติธรรม หรือมีความเป็นไปได้สูงที่จะทำให้ประชาชนตายหรือเสียหายได้อย่างถาวร
                การสัมภาษณ์ต่อในรายละเอียด เราได้พบอีกว่า ไม่ว่าความเสี่ยงไหน ผู้คนมักจะเชื่อความเห็นของคนใกล้ชิดที่สุด และคนที่รักที่สุด มากกว่าความเห็นของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง
1. The passage is mainly concerned with____________.
                (1) several classic examples of potential harm
                (2) what problems arise out of irrational fears
                (3) the cultural background of some universally-feared dangers
                (4) ozone depletion and its risks
                ตอบข้อ (3) เพราะในบทความพูดถึงความเสี่ยงหลักของคนทั่วไป และความแตกต่างการจำกัดความชนิด ของความเสี่ยงว่าแบบไหนคนกลัวมากกว่า โดยดูจากความคิดพื้นฐานของคนทั่วไป ความคิดพื้นฐานสามารถสื่อได้ด้วยคำว่า background ส่วนข้ออื่นนั้น ผู้เขียนพูดถึงเพียงสั้น ๆ ไม่ได้เน้นหนัก จึงไม่ถือว่าเป็นส่วนหลักที่บทความนี้
2. What is probably the main purpose for conducting this research?
(1) To find out more about why and how individuals responds to various risks.
(2) To describe to what extent possible harmful effects are delayed.
(3) To argue against the previous research o­n catastrophic potential
(4) To evaluate mechanisms that monitor potential dangers.
ตอบข้อ (1) เพื่อที่จะค้นพบข้อมูลเพิ่มเติมว่าคนเราตอบรับต่อความเสี่ยงที่หลากหลายเพราะอะไร และอย่างไร
3. What can be inferred from the statement,  “this is exactly what we found” ?
(1) Individuals view risks in different but predictable ways.
(2) The current findings correspond with the o­nes of the earlier studies.
(3) Fears about microwaves, food coloring, and alcohol are exaggerated.
(4) Previous studies suggested that all the most acceptable risks had sudden impact.
ตอบข้อ (4) การศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้เสนอว่าความเสี่ยงที่คนเรารับได้มากที่สุดมีผลกระทบฉับพลัน
4. Which description does NOT match with the word « dread » ?
(1) Without choice                                            (2) Causing death
(3) Fairly exposed                                             (4) Permanently injured
ตอบข้อ (3) ความหมายของ “dread” คือ น่ากลัว น่ายำเกรง เพราะ Fairly exposed แปลว่าค่อนค้างเปิดเผย
                ข้อ (2) Causing death  ข้อ 1 without choice (involuntary)
              ข้อ (4) Permanently injured ต่างเป็นสาเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นน่ากลัวทั้งนั้น
5. Who do people usually turn to for advice about a possible risk discussed in the passage ?
(1) Doctors and scientists                                                (2) Friends and relatives
(3) Environmentalists and experts                                (4) Organizations and officials
ตอบข้อ (2) ข้อความที่สนับสนุนคำตอบนี้ คือ “people here more likely to trust  the opinions of their nearest and dearest ซึ่งก็คือ friends and relatives นั่นเอง คนมักจะเชื่อคนใกล้ชิด (เพื่อน) และคนที่เป็นที่รัก (ญาติ) มากกว่า
6. What is the author’s attitude toward the information in the passage ?
(1) Biased                                                             (2) Concerned
(3) Sympathetic                                                  (4) Neutral
ตอบข้อ (4) คือ Neutral เป็นกลาง สาเหตุคือ จากในบทความเป็นการรายงานการศึกษาวิจัยจุดมุ่งหมายหลักคือ บอกข้อมูลให้ทราบ นอกจากนี้ยังไม่มีประโยคชนิดใดที่แสดงความรู้สึกของผู้เขียนในการแสดงความคิดเห็นต่อผลการวิจัย ฉะนั้น ทัศนคติต่อข้อมูลในบทความของผู้เขียนถือว่าเป็น Neutral ซึ่งก็คือ เป็นกลางๆ
                ข้อ (1) อคติ
                ข้อ (2) เป็นห่วง
                ข้อ (3) เห็นอกเห็นใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น